วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วันเสาร์ 8 ธันวาคม 2550

อาจารย์เข้ามาสอนเกี่ยวกับวิชาสัมนา การจัดการ รูปแบบการจัดโต๊ะ รูปภาพของกิจกรรมที่ผ่านมาของนักศึกษาภาคปกติ การจัดสัมนาต้องทำให้สมจริง

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

แอลจี มอนิเตอร์ L226W

บริษัท ดีคอมพิวเตอร์ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า แอลจี มอนิเตอร์ เปิดตัวจอมอนิเตอร์ FLATRON รุ่นล่าสุดในตระกูล L6W Series ภายใต้แนวคิด “VISTA Concept New Wide Series”
จอภาพ LCD แบบ Wide Screen ที่มีความกว้างของการแสดงผลมากกว่าจอภาพแบบธรรมดา เพื่อตอบสนองการทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุด Windows Vista ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยคุณสมบัติด้านภาพที่มี Contrast Ration สูงสุดถึง 5000:1 จากเทคโนโลยี DFC หรือ Digital Fine Contrast Ratio ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดยแอลจี ผสานกับการตอบสนองของภาพที่เร็วที่สุดถึง 2ms. ลดการเกิดเงาซ้อนของภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ภาพที่ได้จากการดูหนัง เล่นเกมมีความชัดเจนต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
อีกทั้งเชื่อมต่อการทำงานได้อย่างสะดวกสบายขยายภาพ ez zooming ที่ใช้งานง่ายด้วยสัมผัสเพียงปุ่มเดียว และฟังก์ชั่นพิเศษ F-Engine เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยให้การปรับค่าแสง สี และความคมชัดให้ตรงกับการ ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว โดยแอลจีได้ผสานเอาสุดยอดเทคโนโลยีและฟังก์ชั่นการทำงานทั้งหมดซ่อนไว้ภายในรูปโฉมอันหรูหรา ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างพิถีพิถันที่เน้นความบางและความโค้งมนของจอ ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบคือฐานจอสีดำมัน กับสีขาวมุก ทำให้จอมอนิเตอร์ตระกูลนี้สามารถสนองความต้องการได้ทั้งการทำงานและความรู้สึกอย่างแท้จริง

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เมนบอร์ด GIGABYTE P35

จะเลือกใช้เมนบอร์ดที่มีภาคจ่ายไฟแค่ 3 เฟสทำไม ? ในเมื่อ GIGABYTE P35 ให้ถึง 6 เฟส !! เมนบอร์ด GIGABYTE ในรุ่นชิบเซ็ท P35 ให้คุณมากกว่ายี่ห้ออื่นในเรื่องราคาที่ดีกว่า ใช้วัสดุที่ดีกว่า ภาคจ่ายไฟที่ให้คุณมากกว่าถึง 6 เฟสในขณะที่ยี้ห้ออื่นให้แค่ 3 เฟส การที่มีภาคจ่ายไฟมากกว่านั่นหมายถึง การทำงานที่มีเสถียรภาพที่ดีกว่าอีกด้วย ตัวอย่าง GA-P35-DS3R ( 6 เฟส ) กับ P5K ( 3 เฟส )

GIGABYTE ขอแนะนำรูปแบบใหม่ล่าสุดของการผลิตโดยใช้ชิบเซตจาก อินเทล รุ่น P35/G33 ที่รองรับการทำงานแบบใหม่ที่กำลังจากมาถึงคือ 45nm Intel Core™2 Quad processor ที่มาพร้อมถึง 4 cores ในการทำงาน ,1333 MHz Front Side Bus แคช L2 มีขนาดถึง 6MB ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูง เพิ่มการรองรับ 1333MHz FSB โดยในรุ่นของเมนบอร์ดจาก GIGABYTE P35/G33 จะรองรับการทำงาน DDR3 memory, ทำให้การทำงานในการตัดต่อวีดีโอและภาพสามมิติมีความรวดเร็วมากขึ้น ทั้งยังมีความสามารถทำงานได้สอบระบบทั้ง DDR2, DDR3 memory รายละเอียดในตัวเมนบอร์ดจาก GIGABYTE เมนบอร์ดในตระกูล P35/G33 ได้ใส่คุณสมบัติพิเศษต่าง เช่น All-Solid Capacitor Design. และใช้วัสดุที่มีคุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น , เมนบอร์ดจาก GIGABYTE ในตระกูล P35/G33 จะมีความคงทนตามมาตราฐาน All-Solid Capacitors "Ultra Durable2"

ข้อมูลเพิ่มเติมท GIGABYTE UNITED Thailand http://th.giga-byte.com/
พูดคุยเว็บบอร์ด GIGABYTE Forum http://th.forum.giga-byte.com/
ติดต่อตัวแทนจำหน่าย บริษัทคอมเซเว่น http://www.comseven.com/

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ทำความรู้จักกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุกวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.ฉบับนี้ และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์

หมายเหตุ ข้อมูลถามตอบนี้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดและเนื้อหาบางส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ การนำไปใช้และอ้างอิงใดๆจึงควรพิจารณาประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดอีกครั้ง

1. ถาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ตอบ
พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป

2. ถาม ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตอบ นั่นก็เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง

3. ถาม: แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
ตอบ
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคลเหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้

4. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง
ตอบ
สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

5. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลอะไรบ้าง และจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นนานแค่ไหน
ตอบ: ในกรณีนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้
1. “ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
2. ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง

6. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการแต่ไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้เลย ถือว่าทำผิดพ.ร.บ.หรือไม่
ตอบ: ถือว่าทำผิดและอาจถูกปรับสูงถึง 500,000 บาท

7. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.นี้ จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการเมื่อใด
ตอบ: ขอแบ่งเป็น 2 กรณี กล่าวคือ กรณีแรกหากคุณเป็นผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตหรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นจะต้องเริ่มเก็บข้อมูลดังกล่าว ภายใน90 วันนับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ อีกกรณีหนึ่งคือในกรณีที่คุณเป็นผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์และข้อมูลผู้ใช้บริการภายใน 150 วัน นับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ

8. ถาม: บทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ.นี้
ตอบ ผู้กระทำผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

ฐานความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เกิน 10,000 บาท
การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะโดยไม่ชอบ ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 บาท
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 2 ปี ไม่เกิน 40,000 บาท
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 บาท
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข (Spam Mail) ไม่มี ไม่เกิน 100,000 บาท
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 บาท
การกระทำต่อความมั่นคง- ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์- กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ/เศรษฐกิจ- เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต
ไม่เกิน 10 ปี3 ปีถึง 15 ปี10 ปีถึง 20 ปี และไม่เกิน 200,000 บาทและ60,000-300,000 บาทไม่มี
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น (การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม) ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 บาท

9. ถาม: ในส่วนของพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการอย่างไร
ตอบ: หากเกิดกรณีที่เชื่อว่ามีการกระทำผิดตามพ.ร.บ. เจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตศาล
1. มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
2. เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องขออนุญาตศาล (พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน)
1. ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
2. สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
3. ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
4. ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
5. ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

10. ถาม: หากได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่แล้ว เจ้าหน้าที่จะมีขั้นตอนในการสืบสวนอย่างไร
ตอบ:
หากคุณได้เข้าแจ้งความแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
1. เมื่อได้รับการร้องทุกข์หรือตรวจพบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จะติดต่อกับผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อขอหมายเลข IP Address และวันเวลาที่พบการกระทำความผิด
2. เมื่อทำการตรวจหมายเลข IP Address แล้วพบว่าเป็นของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) รายใด เจ้าหน้าที่จะทำหนังสือสอบถามข้อมูลจราจรและข้อมูลผู้ใช้บริการ
3. หลังจากนั้นจะมีการเชิญผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีรายชื่อปรากฏมาให้ปากคำ

11. ถาม: ถ้าหากคุณเป็นผู้เสียหายจะต้องทำอย่างไร
ตอบ: หากคุณกลายเป็นผู้เสียหาย แนะนำว่าให้คุณจดจำ URL (Uniform Resource Locater) ที่พบว่ามีการกระทำความผิด และให้คุณรวบรวมพยานหลักฐานที่สามารถหาได้ เช่น จัดพิมพ์รายละเอียดต่างๆ จดจำวันเวลาและสถานที่ที่พบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แล้วให้รีบไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น

12. ถาม: หากต้องการศึกษาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ไหน และมีหน่วยงานใดบ้างที่ดูแลรับผิดชอบ
ตอบ: สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ได้จากเว็บไซต์ของหลากหลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบ อาทิ
1. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: http://www.mict.go.th/home/home.aspx
2. ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (High-Tech Crime Center) :http://htcc.police.go.th/
3. กองบัญชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: http://ict.police.go.th/
4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ: http://www.royalthaipolice.go.th/
5. กรมสอบสวนคดีพิเศษ: http://www.dsi.go.th/dsi/index.jsp
6. เว็บไซต์ NECTEC เพื่อประชาคมความรู้ (NECTEC PEDIA) http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php

อ้างอิง
http://www.etcommission.go.th/documents/laws/20070618_CC_Final.pdf
เอกสารคำอธิบายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4 ประกอบการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมที่ 772/2550

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เจ้าเพนกวินจะครองเอเชีย

รัชสิรินทร์ เจริญพิทยากลาย
ที่มา: บิสิเนส วีค

นักวิเคราะห์เผย เทรนด์ลินิกซ์อาจเบียดไมโครซอฟท์ครองตลาดเอเชีย หลังยักษ์ใหญ่ จีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น ประกาศ จับมือพัฒนาโอเอสเอเชียสำหรับอุปกรณ์ยุคหน้า ชี้ต้นเหตุปัจจัยด้านราคาวินโดว์ส และมาตรการกวาดล้างซอฟต์แวร์เถื่อน

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา 3 ยักษ์ใหญ่แห่งเอเชีย อันได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ได้ประกาศโครงการร่วมมือกันพัฒนา "ลินิกซ์" โดยมีจุดประสงค์ เพื่อหาระบบปฏิบัติการตัวใหม่ มาใช้แทนโปรแกรมวินโดว์สราคามหาโหดของไมโครซอฟท์

ปัจจุบันการหัน ไปใช้โปรแกรม ตัวอื่น นอกจากวินโดว์สของไมโครซอฟท์ในทวีปเอเชีย กำลังเป็น กระแสที่รุนแรง มากขึ้นทุกขณะ รัฐบาลประเทศต่างๆ นับตั้งแต่ญี่ปุ่นยันอินเดีย เริ่มให้ความสนใจ ในระบบปฏิบัติ การโอเพ่นซอร์ส อย่าง ลินิกซ์ ด้วยเหตุผลที่ว่า...ต้องการลดค่าใช้จ่าย และเกาะติดวงจรเทคโนโลยีรูปแบบใหม่

แม้ว่าไมโครซอฟท์เอง จะไม่ได้แสดงความกังวลอย่างออกหน้าออกตา แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่า หนึ่ง ในนโยบายหลัก ตัวของเจ้า ตลาดซอฟต์แวร์ในขณะนี้ ก็คือการหาทางยับยั้ง หรือแม้แต่ชะลอกระแสความนิยมในโอเพ่นซอร์ส

หวังสร้างซอฟต์แวร์แห่งเอเชีย

โครงการพัฒนา ลินิกซ์แห่งเอเชียครั้งนี้ ริเริ่มขึ้นโดยนายทาเคโอะ ฮิรานูมะ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของญี่ปุ่น โดยออกมา เสนอแนะ ให้เพื่อนบ้าน ยักษ์ใหญ่ อีก 2 ราย ร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาระบบงานลินิกซ์ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตมือถือ กล้องถ่ายภาพนิ่งดิจิทัล และอุปกรณ์ สำหรับยุคหน้าชนิดอื่นๆ

สำหรับญี่ปุ่นและเกาหลีแล้ว การสร้างความร่วมมือกับประเทศจีนย่อมมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจีนมีฐานะเป็นผู้ผลิตมือถือที่ใหญ่ที่สุดของโลกในขณะนี้ และกำลังมีอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดอุปกรณ์ไฮเทคอื่นๆ อีกด้วย ในด้านของรัฐบาลจีนเอง ก็มีความสนใจในลินิกซ์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ด้วยเหตุที่ เป็นโปรแกรมที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ และมีความปลอดภัยสูงกว่าซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ทั้งหลายนั่นเอง และหากจะมีกลวิธีใด ช่วยให้ยักษ์ใหญ่ ของเอเชียรายนี้ สามารถพัฒนาระบบดังกล่าวขึ้นมาได้ ประโยชน์มหาศาลก็น่าจะตกเป็นของญี่ปุ่นและเกาหลีอย่างไม่ต้องสงสัย

แต่อุปสรรคสำคัญที่มีอยู่ในขณะนี้ก็คือ ปัญหาทางการเมือง ในทางปฏิบัติแล้ว ข้อตกลงความร่วมมือ 3 ฝ่ายค่อนข้างเป็นไปได้ยาก และแต่ละประเทศก็ยัง คงต้องตรวจสอบรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก รวมทั้งอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อประเทศ ทั้งสามมีความหลังทางประวัติศาสตร์ ที่ไม่ค่อยดีต่อกันนัก เห็นได้จากประชาชนเกาหลีจำนวนมากยังคงเกลียดชังชาวญี่ปุ่นอย่างฝังรากลึก หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดเกาหลีใต้เป็นอาณานิคม เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เช่นเดียวกับความเกลียดชังของชาวจีนที่มีต่อประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเคยรุกรานตนในอดีต

ชี้กระแสต้านวินโดว์ส

แม้ว่าบริษัทอิเล็กทรอนิกส์น้องใหม่ของจีน เช่น ทีซีแอล เบิร์ด และเลเจนด์ จะยังไม่มีบารมีเทียบเท่า บริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มัตสึชิตะ และซัมซุง ในขณะนี้ แต่จีนก็เริ่มที่จะมีบทบาทในตลาดโลกมากขึ้นเรื่อยๆ และความขัดแย้งทางผลประโยชน์ก็อาจทำให้โครงการนี้ต้องพับไปในที่สุด

ไม่ว่าโครงการนี้จะลงเอยอย่างไรก็ตาม แต่สิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ มีสัญญาณหลายอย่างเกิดขึ้น ที่ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ของโปรแกรมวินโดว์ส ในทวีปเอเชีย กำลังอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง

ประการแรกก็คือ หน่วยงานรัฐบาลทั่วประเทศจีน กำลังเริ่มมองหาระบบปฏิบัติการตัวใหม่มาใช้แทนที่วินโดว์ส ขณะที่เมื่อเดือนที่แล้ว บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ลินิกซ์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน "เรด แฟลก ลินิกซ์" ประกาศว่า ตนกำลังร่วมมือกับฮิวเลตต์-แพคการ์ด เพื่อวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในจีนและทั่วโลก

ส่วนผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ได้แก่ โซนี่ มัตสึชิตะ และซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ก็ประกาศว่าตนกำลังตั้งสมาคมลินิกซ์ สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ "ซีอี ลินิกซ์ ฟอรัม" เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ลินิกซ์เช่นกัน ขณะที่บริษัทชาวอินเดียหลายแห่ง รวมทั้งหน่วยงานรัฐบาล ก็เริ่มนำลินิกซ์มาใช้แล้วในงานหลายประเภท

เผยต้นตอซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์

นอกจากนี้ ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในเดือนที่แล้ว ก็มีส่วนทำให้ลินิกซ์ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในเอเชีย เนื่องจากไวรัสส่วนใหญ่จะมุ่งโจมตีวินโดว์สเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม การสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้ลินิกซ์ ก็เป็นเพราะตัวไมโครซอฟท์ด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่ายักษ์ใหญ่ซอฟต์แวร์แห่งนี้ได้ดำเนินมาตรการอย่างหนัก ในการรณรงค์ให้ชาวเอเชียหันมาใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ถูกกฎหมาย แทนซอฟต์แวร์ก๊อบปี้ หรือซอฟต์แวร์เถื่อน

ขณะที่พฤติกรรมการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ยังคงเป็นสิ่งที่ไม่อาจกำจัดให้หมดไปจากเอเชียได้ โดยเฉพาะในจีน ซึ่งสมาคมซอฟต์แวร์ธุรกิจได้ประเมินไว้ว่า มีสัดส่วนของการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดถึง 90% จากสถิติเมื่อปี 2544 และแม้ว่าสถานการณ์ในอินเดียจะไม่เลวร้ายถึงขนาดนี้ แต่ก็ยังจัดเป็นพื้นที่ที่มีปัญหา โดย 3 ใน 4 ของซอฟต์แวร์ที่ใช้ทั่วประเทศเป็นสินค้าปลอมแปลง

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สมาคมซอฟต์แวร์ธุรกิจ ซึ่งมีไมโครซอฟท์เป็นหนึ่งในสมาชิกหลัก ได้ตัดสินใจใช้กลยุทธ์จับมือกับรัฐบาลในประเทศต่างๆ เพื่อหว่านล้อมให้ใช้เฉพาะซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ ซึ่งได้ผลในเมืองใหญ่ๆ บางแห่งเท่านั้น เช่นเซี่ยงไฮ้

ดึงลินิกซ์สู้ปัญหาราคา

อย่างไรก็ตาม จีนก็ยังคงมีการจำหน่ายซอฟต์แวร์เถื่อนอย่างล้นหลาม เนื่องจากสินค้าเหล่านี้มีราคาถูกกว่าซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มาก และแม้ว่าจะได้รับ การขนานนามว่าเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก แต่จีนก็ยังคงเป็นระบบเศรษฐกิจที่เพิ่งเกิดใหม่ และประชากรส่วนใหญ่ก็มีรายได้ต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ (43,000 บาท) ต่อปี

ข้อเท็จจริงดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ซอฟต์แวร์วินโดว์สของจริงนั้นมีราคาแพงเกินไป และถ้าประเทศเหล่านี้ไม่สามารถใช้เวอร์ชั่นเทียม ซึ่งมีราคาถูกกว่ามากได้ รัฐบาลก็จะมีแรงจูงใจให้หันไปพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเอง เช่น ระบบปฏิบัติการลินิกซ์ อย่างไม่ต้องสงสัย

ไมโครซอฟท์เองก็มิได้เพิกเฉยต่อปัญหาดังกล่าว ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงของยักษ์ใหญ่ซอฟต์แวร์ ได้เดินทางไปยังประเทศจีน เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์ และในเดือนนี้ ทางบริษัทก็ได้ตั้งหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการประจำประเทศจีนคนใหม่ นายทิม เฉิน ผู้ซึ่งทำงานให้กับบริษัทโมโตโรล่าในจีน

เฉินมีประสบการณ์ในการติดต่อกับบริษัทท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน เนื่องจากโมโตโรล่า ซึ่งเคยเป็นเจ้าอุตสาหกรรมมือถือ ก็ต้องเผชิญปัญหาจากการสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้ผู้ผลิตชาวจีนมาก่อนเช่นกัน และเชื่อว่าประสบการณ์ดังกล่าว คงปรับใช้ได้ดีเป็นอย่างยิ่งกับสถานการณ์ของวินโดว์สในเอเชียขณะนี้

ไวรัสคอมพิวเตอร์กับกฎหมายไทย(3)

ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด


อาทิตย์ที่แล้วผมได้รับอีเมลจากคุณณรงค์ ซึ่งเป็นแฟนคอลัมน์ไอทีลอว์ ให้ช่วยให้ข้อแนะนำทางกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาการที่แฮคเกอร์ส่งอีเมลบอมบ์ (E-mail Bombs) หรือโปรแกรมไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามาทำลายระบบรักษาความปลอดภัย หรือระบบไฟร์วอลล์ (Fire Wall) ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทไม่สามารถทำงานได้

หลังจากนั้นแฮคเกอร์ก็จะเจาะระบบคอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาฐานข้อมูลธุรกิจของบริษัทหรือฐานข้อมูลของลูกค้าของบริษัทไปใช้หรือเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เหมือนกรณีที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อแสดงว่าตนเองเป็นแฮคเกอร์ที่มีความสามารถ จากกรณีดังกล่าวกฎหมายไทยในปัจจุบันสามารถดำเนินการทางอาญากับบุคคลดังกล่าวได้หรือไม่อย่างไร วันนี้ผมจะมาตอบคำถามดังกล่าวกันครับ

ผมขอแยกการกระทำความผิดออกเป็น 2 ส่วนครับ ส่วนแรกตามที่ได้กล่าวไปในครั้งที่แล้วว่า การที่แฮคเกอร์ส่งอีเมลบอมบ์ หรือโปรแกรม ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามาทำลายระบบรักษาความปลอดภัยของบริษัท เอ. บริษัท เอ. ผู้เสียหายอาจดำเนินคดีกับแฮคเกอร์ ก. ในความผิดฐาน จงใจ ปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์หรืออีเมลบอมบ์ โดยมีเจตนาทำให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นทรัพย์สิน ของบริษัท เอ. เสียหายอันเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ได้ครับ

นอกจากนี้ ภายหลังจากที่แฮคเกอร์ ก. ได้เข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวแล้วแฮคเกอร์ ก. ได้เจาะรหัสเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลลูกค้าของบริษัท เอ. และนำเอาฐานข้อมูลของบริษัท เอ. ดังกล่าวออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชน บริษัท เอ. อาจดำเนินคดีอาญากับนาย ก. ในความผิดฐานเปิดเผยซึ่งความลับ ทางการค้าของผู้อื่นได้ หากฐานข้อมูลของลูกค้าที่แฮคเกอร์นำมาเปิดเผยเป็นฐานข้อมูลทางธุรกิจที่ไม่ได้รู้จักโดยทั่วไป และเป็นข้อมูลในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีคุณค่าที่เกิดจากการรวบรวม จัดสรร คัดเลือก จัดลำดับ จนข้อมูลดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้อมูลเฉพาะ ที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถล่วงรู้ถึงข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัท เอ. ได้ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานรักษาฐานข้อมูลดังกล่าว ฐานข้อมูลทางการค้าหรือฐานข้อมูลของบริษัท เอ. อาจถือเป็นความลับทางการค้าตามมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ซึ่งได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย

การที่แฮคเกอร์ ก. เจาะรหัส และนำเอาฐานข้อมูลลูกค้าที่เป็นความลับมาเปิดเผยโดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้บริษัท เอ. ได้รับความเสียหายโดยการเปิดเผย ดังกล่าวของแฮคเกอร์ ก. ทำให้ฐานข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าเป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไป แก่สาธารณชนจนสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าถือเป็น ความผิดตามมาตรา 33 ของพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2535 อันมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

"ความลับทางการค้า" หมายความว่า ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับ ทางการค้าได้ใช้มาตรการ ที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ


มาตรา 33 "ผู้ใดเปิดเผยความลับ ทางการค้าของผู้อื่น ให้เป็นที่ล่วงรู้ โดยทั่วไปในประการ ที่ทำให้ความลับ ทางการค้านั้นสิ้นสภาพ การเป็น ความลับทางการค้า โดยเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้ควบคุม ความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะกระทำ โดยการโฆษณาด้วยเอกสารการกระจายเสียง หรือ การแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ดังนั้น การที่แฮคเกอร์ ก. ใช้ไวรัสคอมพิวเตอร์หรืออีเมลบอมบ์ เพื่อทำลายระบบคอมพิวเตอร์ และเจาะรหัสหรือแฮคเกอร์ระบบคอมพิวเตอร์ ของบริษัทอื่นจึงเป็น ความผิดตามกฎหมายไทยครับ ซึ่งผู้เสียหายสามารถดำเนินคดีอาญาได้ ผมคิดว่า คุณณรงค์ซึ่งเป็นเจ้าของคำถามนี้คงได้คำแนะนำ ทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าวพอสมควร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การปรับใช้กฎหมายอาญากับการกระทำ ความผิดของแฮคเกอร์แต่ละรายจึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไปเพื่อปรับใช้กฎหมายแต่ละฉบับครับ

ในครั้งหน้า เราจะมาคุยกันต่อเกี่ยวกับกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ในส่วนมาตรการทางแพ่งในการเรียกร้องค่าเสียหาย อย่าลืมติดตามนะครับ